วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555


ยินดีต้อนรับ พุทธศาสนิกชน ทั้งหลาย
ชาวพุทธที่ดี คือ ผู้สนใจและศึกษา พระธรรม
นำมาปฏิบัติ เพื่อ หลุดพ้นจาก กิเลส ทั้งปวง 
มิใช่ มีไว้ในใบเกิด เพื่อ ไม่ให้ตน จักเป็นคนไม่มีศาสนา  

 
หัวข้อทั้งหมด
- จุดมุ่งหมาย อันดีงาม       - ปฏิปทา ของ อาตมา       - ว่าด้วย เรื่อง ศิษย์สมบูรณ์    
- แนวทางการปฏิบัติและ บทสวดมนต์ มนต์พิธี  ของ โยม และ พระบวชใหม่ เบื้องต้น   

  
   
 แนวทางการปฏิบัติ ของ โยม หรือ ภิกษุใหม่ ทั้งหลาย ขั้นต้น

- อาตมา จะแบ่งเป็น 2 แบบ 
1. การสวดมนต์ ( บทที่แนะนำ มนต์ พิธี ที่ใช้ เป็นขั้น ทีละบท อย่าง ง่าย )
2. การ ปฏิบัติ เจริญ สติวิปัสสนากรรมฐาน 3 ขั้น หลักๆ ง่ายๆ 

 

 เริ่มจาก 1. การสวด มนต์ ( พระใหม่ควรศึกษา )

- อาตมา เป็นพระ ต้องให้ พร ญาติโยม บางที ก็เจอโยม มีทุกข์ ขอให้อาตมา ช่วย หน่อย 
- อาตมา จึงคิดว่า ถ้าเรา ไม่สวดมนต์ เจริญสติ ภาวนา ไม่มีบารมี ไม่มี กุศล ไม่ปฎิบัติ แล้วเราจะมี อะไร ไปให้พรเค้า  
- ช่วย อะไรโยมได้ มีแต่ ติดลบทุกวันๆ เพราะ  ถ้าเรา ปฎิบัติธรรม มีบุญ เขาก็จะได้บุญอยู่แล้ว 
- แต่ ถ้าเราไม่ปฎิบัติเป็นพระ ที่ดี เรา ต้องติดลบ แน่ๆ เพราะ ที่เขาใส่บาตร ก็หวังบุญ บารมี จากเรา
-  เรากินใช้ของเขา ถ้าไม่มีบุญทดแทน ก็คงติดค้างเขาแน่ๆ เราจึง ควรสร้างอานิสงฆ์ ผล บุญแก่ตัวเราก่อนที่ จะไป ให้ใคร  ( เปรียบ เช่น โยม คิดจะอุทิศบุญ มีทุนคือบุญ แล้วหรือยัง?)

 สรุปหัวข้อ  ( คลิกไปหน้า สวดมนต์ )   
- ทำวัตร เช้า - เย็น ( จากอาตมาได้ ศึกษาและ พิจารณา ควร ท่องคำแปล ด้วย เพราะ เราสวดเฉยๆ ช่วยแค่ ให้จิต สงบ อยู่ ที่การสวดมนต์ บทสวด คือ คำสอน ถ้า เราไม่รู้คำแปล ก็เท่ากับ สวดไป ท่องจำไปก็ ไม่ค่อยได้อะไร ถ้า สวดคำแปลไปด้วย ก็เหมือนการท่องจำคำสอน ทุกวันๆ ยิ่งดี ) 
- สวด ปัจเวก & พิจารณา สังขาร ( เพื่อ พิจารณา สิ่งที่เรา ทำไป แล้วลืม บ้าง เช่น เรา กินข้าว ฉันท์ ข้าว ตอนเรา ทาน กับไปยึด ติด รส ชาติ ไม่ได้กินเพื่อ ดับความทุกขเวทนา คือ ความหิว แต่ ไปดับความอยาก และยึดติดกิเลส คือความอร่อย  เช่น พระพุฒาจาร์ยโต อาตมาอ่านเจ ในหนังสือเขียนไว้ว่า " เมื่อท่านไปฉันท์ ข้าวในวัง เมื่อมีคำไหน ที่รู้สึก อร่อย ท่านจะ ผ้ามาปิดปากและ คายทิ้งทันที เพื่อดับกิเลส " )

- สวดมนต์พิธี ( พระใหม่ ควร สวด ตามดังนี้ )  ( คลิกไปหน้า สวดมนต์ ) 
1. บูชา พระรัตนตรัย
2. บท กราบ พระรัตนตรัย
3. นมัสการ พระรัตนตรัย
4. ขอ ขมา พระรัตนตรัย
5. ไตรสรณคมน์ 
6. คำอาราธนาพระปริตร
7. ชุมนุมเทวดา 
8. ถวายพร พระ (อิติปิโส)
9. พาหุง & มหาการุณิโก
10. ชินบัญชร ( บทนี้ ต้องทำตาม อาตมาแนะนำนะ เพราะอ่านมาจากหลวงพ่อ จรัญ ท่านบอกไว้ว่า คาถาหลวงปู่โต นี้ดีมาก แต่.. ต้องมี จิตขั้นสูงเพราะ เชิญ เหล่าพระอรหัต มาประทับ ร่าง ตามคำแปล  )
( อาตมาทำตามนี้ก่อนสวด >  หลับตา10วิ นึกถึง รูปหลวงปู่โต ขอบารมี ท่าน ในการสวด บทนี้ แล้ว เริ่มสวด )
11. ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (ต้องสวดให้ได้ทุกวัน)
( จาก 1-11 ใช้เวลาประมาณ 12-14นาที ที่อาตมาสวดอยู่ )
12. นมัสการพระพุทธเจ้า 28 พระองค์
13. คาถา พระพุทธเจ้า ชนะมาร  (  ของหลวงปู่มั่น )
14. คาถา พระเจ้า 16 พระองค์
15. คาถา สืบสร้าง ทาง สวรรค์-นิพพาน
สะเดาะเคราะห์ ปัดเป่า ป้องกัน
16. คาถา มงกุฎพระพุทธเจ้า
17. พระคาถา ป้องกันภัยสิบทิศ 
18. พระคาถา มงคงจักรวาฬทั้งแปดทิศ 
มนต์ พิธี ( พระใหม่ แนะนำ 4บท ที่เหลือ ตามผู้นำสวด )
19. พาหุง & มหาการุณิโก จำให้ได้ ใช้ทุกงาน 
20. สัมพุธเธ หรือ นะมะการะสิทธิ (หน้า54เล่ม เหลือง ได้ตอนบวช) 
21. นะโม8 (นะโมการะอัฏฐะกะ) (หน้า55)
22. อะเสวะนา (หน้า 57) 
23. ยังกิญจิ (หน้า59) หรือแล้วแต่ผู้นำ 
24. มงครจักรวาฬน้อย ( หลังให้พร สัพพี) ( ถวาย สังฆทานก็ใช้ )
25. เชิญเทวดากลับ ( จบข้อไหน ก็ ข้ามมา ส่งเทวดา ด้วยนะ)
บท อุทิศบุญ
26. บท แผ่เมตตา ให้ตนเอง
27. บท แผ่เมตตา ให้ สรรพสัตว์
28. บท แผ่ส่วนกุศล
29. บท กวดน้ำ สวดยอด พระกัณฑ์ไตรปิฎก อโหสิกรรม เจ้ากรรมนายเวร 
บทขอ ขมา กรรม
บทคาถา ป้องกัน ริด คุณไสย ไล่ผี ต่างๆ
บทคาถา เสน่ห์ บูชาต่างๆ
บทคาถา หลวงปู่ ฤาษี 108 องค์

ขอ อนุโมทนา สาธุ ทุกท่าน ที่สวด ตามนี้ 


  2. การ ปฏิบัติ ขั้นเบื้องต้น 3 ขั้น  ง่ายๆ Style อาตมา
แต่ยังยึดหลัก ของพระอาจาร์ย แค่นำการปฏิบัติ มาแนะนำเพิ่ม 
- ปฏิปทาอาตมา กฎกรรมฐาน เก็บอารมณ์ เก็บวาจา เก็บตัว พูดน้อยเสียน้อย 
พูดมากกรรมฐานรั่ว ( นำคำสอนนี้จาก กลอน เขียนไว้ใน กุฎิ ใน วิเวกอาสม) 
( การสร้างนิมิต ช่วย อาการฟุ้ง หรือ การเพ่งจิต สงบ ภาวนา หลุดได้น้อยลง 
ช่วยให้ นิ่ง สงบ ดูลม ดูภาวนา ได้นาน และ พัฒนาได้ไวขึ้นมาก 
โดยการ นึก หรือ หารูปพระพุทธรูป หรือพระพุทธเจ้า จำ และพอหลับตา
ให้นึกถึงรูปนั้น พยายาม ฝึกให้ภาพนั้น ชัดที่สุด ให้นึกภาพนั้นเป็นนิจเวลา 
ก่อนเข้ากรรมฐาน หรือเวลา ไหว้พระพุทธตอนก้มกราบ อ้้างอิงหลวงพ่อฤาษีลิงดำ )
 - หลังจาก สวดเสร็จ นั่งสมาธิ เจริญ สติ ต่อ ตามต้องการ ที่จิตไม่ฟุ้งมาก
- ถ้าฟุ้งมาก คิดไปเรื่อย ดึงเท่าไร ยอมรับ และ ตามดู ตามรู้ก็ยังไม่หายฟุ้ง 
- ให้ท่าน หยุดก่อน สักนาที หรือไป ทำไรพักให้สบาย จิต และเอาใหม่ 
ขั้นตอนนี้ คือ ขั้นที่1 
( ผลลัพธ์ เมื่อ ฝึก ขั้น1 บ่อยขึ้น สิ่งที่ได้ ชัดเจน คือ การเข้าสมาธิ หรือ สงบ แบบไม่ฟุ้ง ได้ไวขึ้น เช่น เหมือนเรา สวดมน ตอนแรกๆ ไม่ชิน  ลิ้นมันพันกัน พอ เริ่มชิน เราก็สวดได้ไวขึ้น ประมาณนั้น.  อารมณ์ชิน หรือ ที่เรียกว่า "ฌาน" )
อาตมา จะสอนเท่าที่ ปฏิบัติได้นะ ขั้นไหนอาตมา ยังไม่ผ่าน ละยังไม่ขาด  จะขอนำคำสอนของพระอาจาร์ย สอนอีกที , จากคำสอน ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ สอนไว้ว่า จะสอนอภิญญา แต่เราไม่ได้อภิญญา มันก็ยากที่จะ ให้เข้าถึงอภิญญา , ไม่เคยไปนิพพาน แต่เขียนอธิบายนิพพาน ก็ถูกบ้างผิดบ้างเยอะแยะ อาตมาเอาเท่าที่ได้ ก็พอใจแล้ว แต่อย่างน้อยๆ ขอโสดาบัน แต่พอใจ ที่พระนิพพาน 

 
 ขั้นที่ 1 
- ต้องกำหนด ก่อน (ชอบแบบไหน เอาตามถนัดเช่น พุธโท สัมมาอระหัง ยุบพองหนอ)
- อาตมา จะสอน ใช้ " พุธโท " ก่อน (วิธี 1 ใช้เป็นหลัก) 
- เริ่มนั่ง โดย เอาตาม สบายเลย ที่ไม่อึดอัด 
- ภาวนา พุธ หายใจเข้า
- ภาวนา โธ หายใจออก นับเป็น  1 ครั้ง
- ทำติดต่อกัน 10 ครั้ง (แรกๆ อาจไม่คงที่ 5-10 ครั้ง)
- พอฟุ้ง คือ คิดแทรกเข้ามา ก็พยายาม จับลมให้ได้ 
- คิด เช่น คิดถึงใคร คิดว่าปวด คิดว่าได้ยินเสียงอะไร คิดเพ้อ นั้นคือ มาร ต้องปราบมัน
- ปราบโดย คิดแค่ ลม เข้าออก มันจะยั่ว เรา ให้ไปคิดอย่างอื่น  อย่าไปสนมัน
- ทำไปเรื่อย จนพอใจ ควร ทำให้มากที่สุดคือ 10 ครั้ง และ วน 1 ใหม่ไปเรื่อยๆ
- พอทำบ่อยๆ พอฟุ้งจะ ดึงจิต ดูลมกลับมาได้ไวขึ้น นี้คือ เราพัฒนา ขั้น1
- เมื่อ ไม่ฟุ้ง เราจะ เกิดอารมณ์ ชิน เข้า สงบได้ง่าย เรียกว่า ฌาน นั้นเอง


- อีกวิธี (วิธี2) คือ ยอมรับ และรับรู้ จิตอยู่ที่ไหนก็ภาวนาชื่อนั้น
- ปวด ก็ปวด , ได้ยินเสียงนก ก็ภาวนาว่าได้ยินพอ , หนาวก็หนาว , ลำคานก็ลำคาน , เกียจก็เกียจ รู้เท่าทันอย่าไปอิน คือรู้พอไม่ต้องไป พูดออกมา รู้ในใจพอ แรกๆ จะหลุดบ้าง หลังๆจะน้อยลงไป เช่นอาตมาบินฑบาตเหยียบหินแรกๆก็อุทานดังเชียวละ หลังๆแทบไม่ร้อง หรือ นานๆจะหลุดที รู้ทันจิต เจ็บไวขึ้นไง 
(เช่น เรา นั่งดู Tv ที่เปิดทิ้งไว้ ปล่อยให้ทีวี มัน ฉายไป เรื่อยๆ เราอย่าเข้าไปอิน ว่า สนุก มัน โกด เกียจ ตัวละคร ในTv นั้นเลย แต่ ให้ เพียงดู มันเท่านั้น รู้ทัน ดู เท่าทัน ว่าเนื้อ เรื่องเป้นแบบนี้ นี่เอง .. จน เบือ และ ปล่อยวางอุเบกขา ในที่สุด นิพพาน จะอยู่ ตอนที่ ทีีวี นั้นดับลง ไ่ม่มี อะไรจะฉาย อีกต่อ ไป (ทั้งเรื่องที่ ดี และ ไม่ดี ดับหมด) 

- จิตหยาบ ฝึกใหม่ จากที่อาตมาเจอ จะคงอยู่ ไม่ได้นาน ในการฝึกภาวนา จะมีช่วง เว้น และช่องว่างอยู่ หรือเรียกว่าฟุ้ง คือ ไปคิด ไปปวด ไปคัน ไปได้ยิน เป็นต้น

- อาตมากวาดลานวัด อาตมาจะดูลม พุธโธ วนครั้งละ10 พอเราฟุ้งจิตหลุดจากพุธโธ คือ หลงไปได้ยินไรดังๆ ภาวนาก็หลุดลืมละ พุธหรือโธ ลมออกหรือเข้า หว้า ก็เลย เกิดเป็นช่องว่าง อาตมาเลยใช้ ภาวนารับรู้ ยอมรับ แทรกเข้ามา เพื่อไม่ให้ฟุ้งเป็นช่องว่าง คือ ถ้าจิต มัน หลุดจากพุธ โธ เราก็หลงไปได้ยินไรดังๆ จนเราหันไปสนใจ เราก็ภาวนาตามด้วยว่า ได้ยิน .. และอีกกรณี คือภาวนาพุธโธไม่ได้

- เช่น อาตมา นั่งสวดมน อาตมาก็ภาวนา พุธโธ ไม่ได้ เพราะตอนสวดก็ไม่รู้มันเข้าออกตอนไหนเดียว ทางปากเดียวจมูก อาตมาเลยใช้วิธี 

- ระลึกรู้ ยอมรับ เช่น สวดไปก็ ระลึกรู้ว่าสวดมน อยู่ พอ สวดๆ จนชิน มันจะฟุ้งทั้งๆที่สวดอยู่ปากท่องไป แต่ จิตมันคิดไปไหนก็ไม่รู้ อาตมาก็ ตามมันรู้ทัน ความคิดนั้น มันก็จะหายไปแล้ว กลับมาระลึกรู้ว่าสวดมนต่อ สักพัก จิตอาตมาไปอยู่ที่ปวดขา อยากสลับ ขาเหลือเกิน (ถ้าปกติ เราจะสลับไปแล้ว ถ้าไม่รู้ทันความคิดเรา) แต่เรารู้ว่าปวดอยากสลับขา ก็ภาวนาไป ปวด จนมัน หายไปก็ จับจิตมาภาวนา สวดมน เช่นเดิม แบบนี้ฝึกแค่นี้ไปเรื่อยๆ ก่อน อยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง แค่ พุธโธดูลม จิตหลุดก็ระลึกรู้ยอมรับ ว่าหลุดไปตรงไหน 

- เช่น พุธโธไป อยู่หลุดไปคิดถึงบานเฉย ก็ภาวนา คิด และดึงกลับมาพุธโธ ต่อ นี้คือ ที่อาตมาปฏิบัติอยู่ ง่าย ใน จริต อาตมา 

- จริตโยม แบบไหน ก็ พิจารณาประยุกต์ เข้ากับจริต ตัวเอง เหมือนเราทำงานที่ถนัด แต่ละคนถนัดต่างกัน ถ้าเจอที่ถนัด ผลงานก็ดี ตำแหน่งก็ขึ้นไว แน่ หวังว่าคงเข้าใจ ที่อาตมาสื่อ 


   ขั้นที่ 2
 (ก่อนฝึก เอาทฤษฎีก่อน ดังนี้ พุธโท คือ นาม พระพุทธเจ้า ซึ่งมี อนุภาพและอานิสงส์ มาก คำที่สั้น ใช้ง่าย จำง่าย )


( ที่สำคัญ พระพุทธเจ้า ทรงตรัส ในเรื่อง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ว่าคนที่นึกถึงชื่อพระพุทธเจ้า ตายไปเกิดเป็นเทวดานางฟ้า ไม่ใช่นับ ร้อยนับพัน "อ้างอิง หลวงพ่อฤาษีลิงดำสอนไว้"



- ตั้งเป้าหมาย ก่อน ( และคิดเสมอ เช่น อาตมา แค่ ขอไม่ตกนรก อะอย่างน้อยๆ กรรมดี ค่อยว่า แต่ที่ผ่านมา กรรมเพียบ ขอหลุดพ้นเป็นที่สุด อย่างเลวสุดคือโสดาบัน )

( จะไปเชียงใหม่ ก็ต้องผ่าน อยุธยา แต่ก่อนถึงอยุธยา เราต้องรู้ว่าไปยังไง)
( เชียงใหม่ คือ นิพพาน , อยุธยา คือ พระโสดาบัน ) 

- พระโสดาบัน ฝึก เพียง 3 ขั้นง่ายๆ (อ้างอิงคลิก)

- พระโสดาบัน ดียังไง อย่างน้อยๆ หนี นรก เกิดเป็นเปรต สัตว์ประหลาดทั้งปวงได้ 


  

 สังโยชน์ 1

1.  สักกายทิฏฐิ อย่างหยาบ คือ รู้ว่า ต้องตายแน่ๆเลย เอาละ ตื่นมา วันนี้ พิจารณาความตาย ว่า คนเรามันก็ต้องตายทุกคน ตายดี ตายไม่ดี มีทุกแบบ วันนี้อาจจะตาย หรือตอนนี้ เราก็ไม่รู้ เช่น คนป่วยยิ่งควรพิจารณา ตอนนี้จะตายปะนี้ ดูสภาพตัวเองถึง เที่ยง ดูท่าไม่น่ารอด จึงอยู่บนความไม่ประมาท พอถึงคล่าวตาย ก็รู้อยุ่ละ ตายแน่ๆอยู่ละ ปล่อยชิว ไม่ยึดติด ( คือรู้ความตายเป็น นิจ ) 

 (คิดบวก ตายสะที หมดเวรหมดกรรม ขึ้นไปสบายต่อข้างบนดีกว่า ข้างบน ไม่มีร่างกายที่สกปรก ( ทั้งขี้ ทั้งเยี่ยว เน่าเหม็นทั้งนั้น เทพ ทั้งหลายข้างบน  ท่านถึงไม่อยากลงมาอีกแล้ว เพราะเหตุนี้อีกอย่าง) พอแก่มา ก็เจ็บปวด ทรมาน สู้ ภาวนา รับรู้ ยอมรับสภาพ รอวันถึงคล่าวตาย ปลดร่างกาย อันที่น่ารังเกียจนี้ไปอยู่ข้างบนดีกว่า ) 

ถ้า ยึดติดนะ เช่น เคยอ่านเจอว่า ปฎิบัติ จน จะบรรลุ อรหัต แต่ตอนตายไม่ได้ เข้า ณาน ตาย คือ ปล่อยฟุ้งไง คิดไปเรื่อย ปล่อยชิว ลืมภาวนา..จึงไปใช้กรรมก่อน )

( เสริมให้ ต่อให้ ปฏิบัติเก่งยังไง ตอนตาย ต้องเข้า ณาน ตายเท่านั้น เราถึงจึงต้องปฏิบัติ ทุกๆวันยังไงละ เพราะไม่รู้ว่าจะตายตอนไหน ... แต่ที่รู้ๆ วันนี้พรุ่งนี้ ไม่น่ารอด ขอ ภาวนาสักหน่อย เผื่อหัวใจวายตอนนั้น อย่างน้อยก็ยังอยู่ในณาน หวังว่าพอเข้าใจพอสังเขป ) 

จนถึงสภาวะ ร่างกายไม่มีตัวตน เพราะ มัน เวียนวน เรารู้ๆอยู่แล้วโดยพิจารณา และใช้ปัญญาดู จนเรา ชิน และ เข้าใจว่ามันต้องเป็นแบบนั้นจนไม่ยึดจิดในร่างกายนี้ จนไม่มีตัวตน ก็แค่ ร่างๆ หนึ่งเท่านั้นเอง จนยึด จะดิ้นรน ไปเพื่ออะไร สุดท้ายก็จบที่เดียวกันหมด จนเบื่อในร่างกายนี้ ไม่เป็นที่น่าหลงไหล และ รังเกียจ จนรู้สึกเฉยๆเป็นกลาง ในที่สุด 

 สังโยชน์ 2
2. วิจิกิจฉา คือ ไม่สงสัย ในธรรม ของพระพุทธเจ้า 

- เชื่อคำสั่งสอน อย่างใจบริสุทธ์ 

- ชาติปิทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์

- ชราปิทุกขา  ความแก่เป็นทุกข์

- มรณัมปิ ทุกขา ความตายเป็นทุกข์ 

สรุปคือ ถ้าเรายังยึด ว่า ร่างกายเป็นของเรา พอแก่มา ก็เป็นห่วงลูกหลาน สมบัติ พยายามหนี บนบานหาตัวช่วย สะเดาะเคราะห์ นั้นแสดงว่ายังใช้ไม่ได้ คุณไม่ผ่าน !




 สังโยชน์ 3 ข้อสุดท้ายของ พระโสดาบัน และ สกิทาคา

3. สีลัพพตปรามาส คือ ศีลครบ 

- รักศีล 5 คืออย่างต่ำ เท่านั้น

- รักษา มิใช่ ลูบคลำ ศีล นะจ๊ะ


สรุปเพิ่มเติม
- พระโสดาบัน มี3สังโยชน์ อย่างหยาบ คือ
1. รู้ตาย เป็นเรื่องธรรมดา พร้อมทุกเมื่อ
2. เชื่อคำสอน ไม่มีข้อสงสัย
3. รักษา ศีล5 เป็นอย่างต่ำ 
แต่ พระโสดาบัน ยังสามารถ รักได้ หลงได้ โกรธ ได้อยู่ยังตัดไม่ขาด 
ถ้า ตัดขาด จะ ละเอียดสูงขึ้น คือเป็น สกิทาคา และ อนาคามี
จนละ สังโยชน์ได้10ข้อ ก็จะเป็น พระอรหันต์

ติ๋วเตอร์ก่อนตาย
1.  คำถาม ท่านมาจากไหน
คำตอบ ข้าพเจ้าไม่ทราบ ว่ามาจากไหน
2.  คำถาม ท่านจะไปไหน 
คำตอบ  ตายแล้วไปไหน ข้าพเจ้าไม่ทราบ 
3.  คำถาม ท่านไม่ ทราบ  หรือ 
คำตอบ  ทราบ ว่ายังไง ก็ต้องตายแน่ๆ 
4.  คำถาม ท่าน ทราบ หรือ 


คำตอบ ทราบ ว่าคนเรา ต้องตายแน่ๆ ไม่มีใครหนีพ้น  

แต่ที่ไม่ทราบคือ เวลาไหน วันไหน ที่ไหน ตายอย่างไร แต่รู้ว่าต้องตายแน่ๆ ( อารมณ์ พระโสดาปัตติมรรค ) 





   ขั้นที่ 3
- ถ้าจะ ฝึก พระโสดาบัน  ขั้น2,3 คือ พระสกิทาคา พระอานามี พระอรหัน 
จำง่ายๆ ( lv1-3  โสดาบัน)  พอ(lv4 พระอรหัต) พอ ( lv5 พระนิพพาน )
- พระโสดาบัน ละสังโยชน์3ข้ออย่างที่สอน ไม่ยาก อย่างหยาบ ยังมีรัก โลภโกด หลงอยู่บ้าง
- พระอานาคามี ต้องมี อารมณ์ ละประโยชน์ ดังนี้ ( คลิก )

วิเคราะห์ คำภาวนา 
- จุดประสงค์ เพื่อให้ รับรู้และเข้าใจ แล้วยอมรับ จน ไม่ยึดติดในคำภาวนา
- รับรู้ว่า มันเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น ก็แค่ สิ่งที่กำหนด ต่างกันแต่เป้าหมายเดียวกัน
- เริ่มจาก หลายคน มักเข้าใจว่า อย่านั้น ดี อย่านี้ชอบ ยึดในคำภาวนานั้นๆว่า ของตนดี
- จากได้ฟัง สาย หนอ ภาวนา ก็จะบอก ว่า สายตรงกว่า เพราะ เข้าที่ ภาวะนา เลย ต่างกับ สายอื่นที่จะมุ่งเน้น สมถะก่อนคือ ทรงสงบ ก่อน 
- จาก ได้ฟัง สาย พุธโธ จะ บอกว่า สายง่ายกว่า ภาวนาง่าย สักสิด 
1. -  จะสรุป วิเคราะห์ จากความคิด อาตมา ว่า .. มันขึ้นอยู่กับ จุดมุ่งหมาย และ เป้าหมาย บวก กำลังใจปฏิบัติ ท่าน ถ้าบารมี สูง เป้าหมาย สูง คือ โสดาบันอย่างเลวสุด จบที่นิพพาน  ไม่ว่่า หนอ หรือ พุธโธ ไม่ต่างอะไรเลย เพราะ ยังไงๆ ท่าน ไปเกิน พรม ขึ้นไปแน่ๆ หรือ โสดาบัน ขึ้นไปแน่ๆ ทางที่น้อยกว่า นั้นไม่มี เพราะ ท่านพร้อมลุย และตั้งมั่นสูง ดังนั้น พวกความตั้งมั่นสูง  จึงทำให้เข้าใจ ว่า ไม่ควรยึด อันไหนดี เพราะเสมอ กัน ทำให้รับรู้เป็นอย่างนี้ และ ละขาด ขั้นนี้ได้โดยปริยาย
2. -  แต่ถ้า ความตั้งใจท่านต่ำกว่านั้น ยังมี รักโลภ โกรธหลง .. แน่นอน ว่า ภาวนา พุธโธ คือ สายภาวนา ที่ได้เปรียบ และควรภาวนากว่า ( ให้ละ ในฐานที่ิเข้าใจ ไม่ใช่ไปยึดติด ดีกว่าอย่างนั้น ) เพราะ ภาวนาแค่ พุธโธ ชื่อนาม พระพุทธเจ้า คือ ได้อนิสงค์ ไป เป็นเทวดา แน่นอน ต่อให้ท่าน ศีล ไม่ครบ ที่ไม่ร้ายแรงนัก  เช่นไม่เจตนา  อย่างๆ ความที่ท่านภาวนา ไม่ถึงขั้นโสดาบัน อย่างเลวสุดๆ คือ เทวดา นางฟ้า. ฉะนั้น การภาวนา นี้ พวกที่ ไม่จริงจัง เคร่ง จิงๆ ถึงจะได้เปรียบกว่า .. ถ้าพวกเคร่งตั้งมั่นก็อยู่ในกลุ่มข้อที่1 .... จึงสรุปไว้ดังนี้ ในความคิดอาตมา ผิดพลาด ขอ อภัยณที่นี้ จุดประสงค์ เพื่อให้ รับรู้ไม่สงสัย และยึดติดในคำภาวนาว่าใครดีไม่ดี คือการ ละขาด จากการยึดติดใน รูป และ นาม นั้นเอง 

 

ตัวอย่าง อื่นๆ ที่อาตมาเจอ แนวทางที่เจอ และการรับมือ 
- ร่างกาย ต้องถึงขั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวไม่มีตน ร่างกายจะ พังทุกวันๆ อยู่แล้ว มันจะเป็นอะไรก็ช่างมัน 
- ให้ ภาวนา ดูลมหายใจ เข้าว่า พุธ ออกว่าโธ ถ้าฟุ้งว่า ทรมาร จะไม่ไหว 
- เปลื่ยนเป็นยอมรับ  จะปวด ก็ปล่อยปวด ตามดูตามรู้ 

(อาตมาผสมดูลม กับ ที่หลวงพ่อจรัญ สอนและวิเวกอาสม ที่จำพรรษาอยู่สอน ไม่ยึดติดวิธีเน้น ประยุกต์ ให้เราตามดู ภาวนา ให้ชัดและ ละกิเลส ที่จิตจ่ออยู่ได้แค่นั้นพอ อย่าเอาวิธีมากำหนด หลักเกน ปฏิบัติ ก็เหมือนพวกเยอะยึด จนไม่ได้เรื่องอะไรสักอย่่าง เพราะสุดท้าย เรายกมาเพื่อ ตีกรอบ พอถึงจุดนั้น เราต้องทิ้งคำภาวนาพวกนี้หมด มันจะว่าง แทน ) 

- ตามดูปวด ก็ปวด ไม่ต้องขยับไม่ต้องวาง รับรู้แค่ปวด ... สักพักจิต เม่อไปคิดอะไรก็ตามให้ทัน ให้รู้ว่าคิด และตามมันให้ ทัน 

(แบบว่านั้นแน่ คิดอกุศลอีกและน้า รู้ทันความคิด ไม่ต้องบังคัับจิต ห้ามคิด ไม่ต้องโมโห เอาแค่ อ่อ มันเป็นแบบนั้น เสียงมันดังจัง ลำคานจัง ไม่ต้องไปอิน จนเกิด โทสะ คือโมโห เช่น นั่งๆอยุ่ยุงกัด จิตไปอยุ่ที่ คัน ปะมานว่าโอ้ยคันจังวะ นี้กลายเป็นโทสะและ ให้เรา ภาวนาว่า คัน หรือ พุธโธดูลม จนความคัน เราไม่ได้ไปสนใจ จนลืมมันไปเลย เพราะดูแต่ลม)  

- มันจะหายแว๊บไปเอง และส่วนมาก อาตมาเจอ ถ้านั่งสวดมนต์อยู่ อารมณ์ มันจะวน คือ เดี่ยว ปวด เดียวจิตไปที่คัน เดียว หลงไปคิดอีกละ วนแบบนี้เป็นต้น มันจะจ่ออยู่ทีละอย่าง ตามให้ทัน ว่าจ่อ อยู่ตรงไหน และภาวนา ตามที่จ่อ
-  มันจะกลับมาปวด ก็ทำแบบเดิม รู้ว่าปวด 
-  ถ้าไม่ไหวอีก สลับไป สูดลมทีแรก ลึกๆ รู้ว่าพุธ และ หายใจเข้า 
(วิธี นี้ช่วย ให้สมถะไว คือสงบไว สูดทีแรกลึกๆ และ ทีสองปกติ อย่าบังคับลม)... 

จน เข้า ฌาน คือ รู้ว่าชิน ปวดก็ปวด แต่ไม่ยึด เฉยๆ ไม่ได้อินเหมือนฝึกใหม่ๆ จะอึดขึ้นและยอมรับความปวดได้ ทนอยู่กับมันได้ ฝึกเพื่อ อยู่กับอารมณ์ต่างๆที่จิตสร้างขึ้นมาได้ อย่างปกติ นี้คือหัวใจการฝึกขั้นแรก 

- เช่น เราเกียจ คนในออฟฟิตนี้มาก มีโทสะ คือ หมั้นหน้ามันมากเวลาไปทำงาน ถ้าเราฝึก ก็ภาวนา เกียจ หรือ ภาวนาพุธโธ ดูลม ตัวเองเวลาเจอ เค้า เราจะลืมเกียจ เพราะดูลมอยู่ แต่ถ้ายังเกียจมาก อยู่ดูลม 
- ก็ยังไม่ได้ ยังฟุ้งในโทสะ ให้ใช้ เออ ความคิดเรามัน เกียจเนอะ มันก็จะเฉยๆกับอารมเกียจนั้น

- ถ้าเราไม่รู้ทันอารมณ์ มันจะ แย่ เพราะ มันจะต่อยอดความคิด เช่น เดียจละ จิตจะคิดขั้นต่อไป คือแกล้งอะไรมันดี คิดขึ้นไปเอง หาทางให้มันไปพ้นๆ นี้จิตยึดเขามาใส่เรา ควรแก้ที่ตัวเราไม่ใช่หาทางไม่เจอเขา ควรฝึกดูจิตให้ยอมรับ ว่าเออโกดเกียจ แค่นั้น รู้ทันจิต ว่าคิดอยู่แค่นั้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป

- ถ้าเราตาม ดูบ่อยๆ รู้ว่า เกียจ มันจะไม่อินในอารม เกียจนั้น แต่จะดู และยอมรับ ในอารมเกียจไอคนนั้น 

- ผลลัพ เมื่อฝึกไปสักพัก ถึงจะรู้สึกเกียจ แต่จะไปทำงานแบบ ไม่อึดอัด เบาลง เหมือนรู้ สภาะจิตตัวเองทัน ท่วงที จึงไม่อินในอารมณ์ ตามๆ ที่จิต จดจ่อ จนดึงเราเข้าไปอิน (ดึงเราไปอิน เช่น โห้ยอร่อยโครต นี้อินในรส โห้ยโครตเพราะอะ นี้อินในเสียง แม่งเอยลำคานเกียจขี้หน้า นี้อินในโทสะ โห้ยอย่างสวยอะนี้อินในร่างกาย จงจำไว้ ร่างกายพุไหทุกวัน ชราก็หมดความสวย มันไม่เที่ยงอย่าไปยึดความงามที่ไม่ยั่งยืน 

- ตัวอย่าง ใช้ในชีวิตประจำวัน 
อาตมาเดิน บินฑบาต ก็ พุธ เข้า โธออก นับเป็น 1 พอครบ10 เริ่มใหม่ พอทำไปสัก เดือน คำภาวนา จะเริ่มหาย เหลือแต่ ลม ชน ขนจมูก  .. ก็เป็น เข้าทรงอารม ง่ายขึ้นไวขึ้น ฟุ้งก็ วิ เดียว ก็ หายไป หรือ แทรกไม่ได้เลยเพราะ เราดูลมอยู่ 
มีครั้งนึง ใช้การยอมรับ แรกๆเยียบหิน สะดุด ร้องเลย พอครั้งที่2 ก็ยังร้องแต่เบาขึ้น ก็ภาวนาว่า เจ็บในใจ แทนการร้องโวยวาย พอเดือนผ่านไป แทบไม่สะท้าน เจ็บในใจ แต่ก็แค่ภาวนา ความเจ็บทำอะไรเราไม่ได้ เดินต่อโล้ด

- ทำให้ สรุปได้ว่า เมื่อเรา ตามดู ตามรู้ ลมเข้าก็ ดี ออกก็ดี ยอมรับก็ดี เจ็บ ปวด ฟุ้ง แค้น โกรธ แยกมันให้ได้อย่ารวม คือ ปวด เจ็บ แล้วไง เหมือนหูซ้ายออกหูขวา อย่ายึดมันไว้ ให้รู้แค่ วิต่อวิพอ ปวดอีก ก็รู้ใหม่ ซ้ำๆ ... จะจบยังไง .. ทำจน กิเลส มันตายอะ มันไม่ตาย เราก็ตาย ... ตายไปดิ ถ้ามันจะตายจิงๆวัดกันไปเลย ... นี้ละ เรื่องจิง เมื่อนั้นปัญญาจะเกิด ให้รู้ว่า เจ็บ ก็แค่นั้นละ ไม่สนใจละ รู้ละ (เหมือน เรากำเหรียน ไว้ พอเรารู้ละ ว่าเหรียน5 พอกำใหม่ เราก็ไม่อยากรู้ละ เพราะเรารู้แล้ว นั้นและคือที่สุด ) เลือกเอา ถ้า ดูลม พุธ โธ ไปเรื่อยๆ อย่างเดียว จนกว่าจิตฟุ้งจน ไปสู่อาการนั้นๆ แค่ทีละ อย่างเท่านั้น จิตอยู่ได้ทีละอย่าง ดูมันอยู่กับอย่างไหน ก็ภาวนาอย่่างนั้น 
- ใช้ อสุภะ  คือการ พิจารณา ดูลึกเข้าไปในตัว ว่า ลองจิตนาการเล่นๆ
ให้เพลินว่า มนุษย์ไม่มีผิวหนัง เดินกันไป คุยกันมา น่ามองมะ น่าสนใจไหม 
ดูสิ น้ำหนอง เธอ เยิ้ม เชียว น้ำมูกเธอไหลจะออกจาก จมูกอยู่แล้ว ... 
ถ้ามองขั้นนี้ได้เรียกว่า อสุภะ  ไม่เห็นความงาม แม้จะสวยก็ตาม 
( หวังว่าจะเข้าใจง่ายขึ้น )
มีกฎ 1 ข้อ คือ ไม่ว่า ท่านจะฝึกถึงขั้นไหน อย่าคิดว่า เป็น พระโสดาบันหรืออะไรทััั้งนั้น ถ้าไม่เป็นจริงขึ้นมา หลายเด้ง อย่่า เสี่ยงจะดีกว่า และที่สำคัญ ถ้าท่านยังยึดว่า เราขั้นโน่นนี้นั้น ท่านยังยึดติด ยังไม่ละ แบบนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับ พระ ที่ยังยึดทางโลก ทั้งปัจจัย ทั้งโลภะ ต่างๆ เป็นต้น  

 

     จุดมุ่งหมาย อันดีงาม 

    เนื่องจาก อาตมา ได้ มีโอกาส มา ปฎิบัติธรรม ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็น วัยรุ่น อายุน้อย ด้าน ทางธรรมก่อนเข้ามาบวช มีความรู้ความเข้าใจ น้อย มากๆ มีแต่โลกแสงสี กิเลส ทั้งหลายทั้งปวง ที่ผ่านมา เมื่อได้มี โอกาส บวชครั้งแรก คือ ปี 2553 เดือน มิถุนายน ได้เข้ามาศึกษาพระธรรมและปฎิบัติธรรม เพื่อหวังทดแทนคุณบิดามารดา แก่ท่าน  แต่ด้วย ความเข้าใจ น้อยมาก จากการ  ขาดผู้ชี้ทาง อย่างกะจ่าง และการเข้าถึงพระอาจารย์ ทางธรรมก็น้อย บวชก็ครั้งแรก จึงเก็บเกี่ยวกลับไปได้น้อยมากๆอีกทั้งบวชเพียง20กว่าวัน จำวัดเพียง10วันก็ออกไปธุดง ชลบุรี เชียงใหม่ ตามพระอาจารย์ไป มีวิชาติดตัวไปน้อยเลย ได้แต่ประสบการณ์เป็นคำถามทิ้งไว้ และ ยังมีกิจการเรียนอยู่ เลยศึก  
.. ตอนบวชครั้งนั้น จึง ตั้งจิตไว้ ว่ายังไง ก็ต้องมาบวชอีกครั้ง  
   -  และใน ขณะนี้ 28 กค. 55 อาตมา ได้เข้ามา บวช และ ลุยศึกษา อย่างเต็มที่ด้วยการ มีจุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ที่ต้องการ ในการบวช โดยไม่ได้หวังอะไรทั้งสิ้น ตอนนี้ อาตมา บวชได้ 2เดืิอนกว่าแล้ว อาตมาก็รู้สึกว่า เราพอศึกษา เบื้องต้น ได้เข้่าใจ แบบง่ายๆ และก็ พลัน นึกถึงครั้งบวชครั้งแรกว่า .. การที่เราเก็บเกี่ยวน้อย เป็นเพราะอะไร พิจารณา จนเข้าใจ ว่า ถ้ามีแนวทาง และ ขัั้นตอนง่ายๆของหลังบวชวันแรก เราคงมีจุดมุ่งหมาย และ เริ่มปฎิบัติ และ รู้วิธี การปฎิบัติ ได้เร็ว และเก็บเกี่ยว การ ระลึกรู้ให้เข้าถึงโดย ง่ายและเร็ว ในการดูจิตตัวเอง ได้ไวขึ้น 
  -  อาตมา จึง จัด ทำบ็อก นี้ และ จะจัดทำเป็นหนังสือ แจกเป็นทาน นี้ ขึ้นมาเพื่อเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แด่พระพุทธเจ้า และ รวมเรื่อง ราว ที่อาตมา พบเจอ. แนวคิดต่างๆ ให้โยม พิจารณา นำไปใช้ ตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า  ตาม สูตรกาลามสูตร จงพิจารณาด้วยปัญญาของ ท่านพิจารณาเองเถิด

       ปฏิปทา ของ อาตมา 
- นำแนวทาง คำสอน ของพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง 
- ไม่นำความคิดตัวเอง ความเห็นส่วนตัว ไม่สงสัยในธรรม มาสอนเด็ดขาด  
- นำแนวทาง ของ พระอาจาร์ย อาตมา เผยแพร่สอนต่อ
- อาตมา ยึดหลัก หลวงปู่มั่น หลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อจรัญ หลวงพ่อวิริยังค์ หลวงปู่โต ขอนำ ความรู้ที่ท่าน ทรงสอน มาปฎิบัติและ เผยแพร่ ต่อ
- อาตมา ใช้ภาษา เข้าใจง่ายๆ ( เพราะ ตอนอาตมา ศึกษา แรกๆ ยกตัวอย่าง มีแต่ หลักการ ต้อง ไปหาความหมายของคำนั้นเพิ่มอีก ทำให้ซับซ้อนเข้าใจ ยากยิ่งไปอีก ก็เหมือน เรียน ดร. มาสอน อนุบาล ใช้ศัพท์ ดร. แล้ว นักเรียนอนุบาลจะเข้าใจ ได้ยังไงล่ะ )
 ( ถ้าอาตมา ผิดพลาด ขออภัย ด้วย จงตำหนิ ติเตียนเถิด ชี้แนะด้วยเถิด เนื่องจากปัญญาของอาตมาน้อย กลัว จะพิจารณา เจาะใจความ คำสอน ท่านไม่ละเอียด เท่าที่ท่านพึง ชี้แนะ แนะนำ)

 ดูก่อน พุทธศาสนิกชน ภิกษุสงฆ์ ทั้งหลาย ( ว่าด้วยศิษย์ )
" กระผม ปฏิบัติ ตามคำแนะนำของหลวงพ่อ แต่ว่า ไม่เคยมีโอกาส ได้ใกล้ชิดสนมหลวงพ่อ อย่างนี้จะเรียกว่า เป็นศิษย์สมบูรณ์ หรือป่าวขอรับ "
- คำว่า ลูกศิษย์ อยู่ใกล้หรือไกล ไม่สำคัญ   ให้ ปฏิบัติตามคำแนะนำ ถือ ว่าเป็นศิษย์ สมบูรณ์แบบแล้ว
- ถ้าอยู่ใกล้ ดื้อ ไม่ฟัง ก็ไม่ถือว่าเป็น ลูกศิษย์ 
เช่น พระพุทธเจ้า ท่านตรัส อานันทะ ดูก่อน อานนท์ ในสมัย ตถาคต มีชีวิต บุคคลใด เกาะ สังฆาฏิของตถาคตอยู่ แต่ไม่ปฏิบัติ ก็ถืิอว่า บุคคลนั้นไม่เห็น ตถาคต เลย 
  ดังนั้น
อาตมาได้รวม แนวทาง และคำสอน ที่อาตมา ศึกษาจาก พระอาจาร์ย ต่างๆดังนี้ 1. หลวงปู่มั่น 2. หลวงปู่ปาน 3. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ 4. หลวงพ่อจรัญ 5. หลวงพ่อวิริยังค์ 6. สมเด็จพระพุฒาจาร์ยโต เมื่อเราปฏิบัติ ตามคำสอนท่าน ก็คือ ลูกศิษย์ของท่าน อาศัย บารมีพระอริยะ มีบารมีมาก แผ่แก่เรา โน้มนำ เราให้ปฏิบัติ เข้าถึงได้ง่าย เพื่อ ที่สุดของจิต หมายคือ พระนิพพาน ขอโมทนา สาธุ ทุกท่าน

ทางลัดสู่การปฏิบัติ เพื่อหลุดพ้น
- อาตมา สวดมนต์ทำวัตร เย็นเมื่อ ตะกี้ คือ 23 ต.ค. 55 ตอน 18.19 นาที 
- นั่งสวดอยู่ สติก็ฟุ้งแต่เรื่องนี้ไม่จบไม่สิ้นไม่หลุด จนต้องเอามาเขียน
- ไม่รู้คือ นิมิต หรือ อะไร ไม่แน่ใจ แต่ คนที่จะได้อ่าน ในนิมิต หรือ จิตฟุ้งนั้น
- ให้คนที่อ่าน ข้างบน จนเลื่อนมาถึงตรงนี้ ถึงจะได้รับรู้สิ่งนี้
- เริ่มเลยนะ 
- ทางลัด ของการฝึก แนวทางต่างๆ แบ่งเป็น ศึกษา กับ ปฏิบัติ
- จาก คำสอน ข้างบนทั้งหมด เป็นคำสอนจากพระพุทธเจ้า ซึ่ง นับไม่ถ้วน
- เมื่อ สดับธรรมแล้ว ตายไป ก็เกิดเป็น เทวดา โสดาบัน ในทันที เมื่อฟังจบเป็นอย่างต่ำ แต่ จะ
 เพิ่ม ความชัดเจนขึ้นไปอีก เพื่อ ยังตรอกย้ำ ในขั้นนั้นๆ ให้แน่น ไม่หลุด ลดหายไป 
- ทางลัดขั้นที่ 1 คือ การ จดจำ ทุกๆขั้นตอน ของการหลุดพ้น ให้ได้ 
ต้อง รู้อย่างละเอียด เช่น พระอรหัน สังโยน์ช 10อย่าง มีอะไรบ้าง ต้องละอะไรบ้าง
10อย่่างจำไม่ ยาก แต่ ยากตรงที่ปฏิบัติ 
- เข้าสู่ด้านศึกษาก่อน คือ สติปัฏฐาน4  กฏ หลัก 8 ข้อ และ สังโยน์ช 3-10ข้อ  ที่ต้องจำไว้ 
( สิ่งที่ต้องจำ ต้องจำให้ตาตึงในจิตเรา เหมือน google พร้อมเรียกใช้ได้ทันที )
1. กาย คือ  มีสติระลึกรู้กาย เป็นหลัก ซึ่งคือธาตุ ดินน้ำ ลมไฟ มองให้ลึก กายเป็นเพียงแค่ มันไม่เที่ยง เปลื่ยนแปลงเสมอ มีตาย เป็นที่สุด และมีแต่ความทุกข์ 
- เกิดแก่เจ็บตาย ก็เป็นทุกข์ ,โคก ร่ำไร รำพัน ไม่สบาย กาย ใจ คับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,ประสบสิ่งไม่เป็นที่รักที่ พอใจก็ทุกข์, พรากจากรักพอใจก็ทุกข์,ปรารถนาไม่ได้ก็ทุกข์ 
2.  เวทนา คือ ทุกข์ สุข หรือ เฉยๆ ตัดอารม โดยการรู้ และยอมรับ เช่นทุก ปวด ก็ดูปวด ไปเรื่อยๆจนยอมรับ และปล่อยวาง ได้ เวทนาเกิดและดับ อย่าไปสนใจและอิน
3. จิต คือ จดจ่อกับสิ่งไหน เช่นปวด จิตอยู่ที่ ปวด ก็ภาวนาปวด , จิตอยู่ที่คิด ก็ภาวนาคิด หรือจิตจ่อลมหายใจก็ภาวนาพุธโธ,จนไม่เที่ยงดับไป รู้จิตไม่ต้องภาวนา
4. ธรรม คือ มีสติ ใช้ปัญญาคิดตาม ระลึกรู้นั้นๆ ว่า กาย เวทนา จิต ล้วนเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และอัตตา ความไม่มีตัวตน 
กฏ8ข้อหลัก 
1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ( ตั้งสติ กำหนด อารมณ์ปัจจุบัน ) อย่าคิดเพ้อเจ้อ คือเรื่องอนาคต อย่าลึกถึงอดีต เพราะแก้ไขอะไรไม่ได้ ให้ เห็นชอบในปัจจุบัน คิดอะไร แล้วก็ ตามดู ตามรู้ ภาวนา ความคิดนั้น หรือ ดู ภาวนา ลมหายใจ พุธโธ ตามถนัด
2. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ ไม่มุ่งร้าย เบียดเบียนใคร และให้ ตั้งสติ อยู่ในอารมณ์ปัจจุบันนั้น ที่จิตจดจ่ออยู่ 1 อย่าง เท่านั้น เช่น ตอนนี้ อ่านอยู่ สติ อยู่ที่อ่าน 
ถ้าอ่านๆอยู่ สติ คิดตาม แบบโน่นแบบนี้ อันนี้ จดจ่อ ที่คิด ตามดูให้ชัด1อย่างเท่านั้น
3. สัมมาวาจา พูดจาชอบ เว้นพูดโกหก เจตนาเว้นจากการโกหก ห้ามพูดส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อไม่จริง และ ฝึก กำหนด ดูเท่าทันจิต  เช่น ตอนนี้ พูดโกหก ก็จิตรู้ว่า นี่เราโกหกอยู่นะ (ผลจะซ้อนคือ โกหกแบบรู้สึกผิด) ถ้าฝึกบ่อยๆ จะทำให้รู้สึกไม่กล้าพูดโกหก เพราะจิตเตือนใจอยู่ รู้ทัน ว่าเราโกหก อยู่น่ะ ( จะมีผลดีมาก ในด้านโทสะ )
4. สัมมากัมมันโต การทำงานชอบ ห้ามจงใจฆ่า ห้ามจงใจขโมย ห้ามจงใจผิดในกาม ทุกแบบ ผิดกฎหมาย และฝึกการต่อเนื่อง ในการภาวนา เช่น ตะกี้ ข้อ3 จิตรู้ทันโกหก ขายของผิดกฎหมายอีก จิตก็ ต่อเนื่องมา รู้ว่าผิดกฎหมายอีก เด่นทีละอย่างนะ ห้าม รู้ หลายเรื่อง จิตไป ไหน ก็ทีละอัน แรกๆ จะตามไม้ค่อยทัน ช้าบ้างไม่ทันบ้าง นานๆไปเดียวชิน เอง และทันเอง ถ้าทำได้ เรื่อยๆ ท่านจะได้ฌาน แรกอัติโนมัติ 
5. สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ  เช่นไม่ขายตัว ไม่ขายหรือโชว์อะไรที่ฆ่าและทรมาน ขโมย ในงานนั้น ต้องทำตามข้้อ3 ข้างบน เป็นต้น และ การภาวนา ควรทำสบายๆ อย่าบังคับ เช่น อย่าไปเร่ง เร็วช้า บังคับ ให้ไม่ปกติ จนเกิดเป็นความอึดอัด โมโห ว่าไมมัน ไม่ได้สักที แบบนี้ถือว่าผิด ให้ปล่อยสบายๆ ค่อยๆ ดู รู้ และยอมรับ ถ้า รู้อึดอัด โมโห ลำคาน ก็ยอมรับ ดูจิตจ่อว่า โมโห อยู่นะ ไม่ต้องไปบังคับ ว่าห้ามโมโหสิ
6. สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ คือความตั้งใจ หมั่นให้กำลังใจตัวเอง ประคองจิต 6.1 เพื่อยับยั่งอกุศล บาปที่จะเกิดขึ้นไม่ให้เกิด หรือ 6.2 บาปที่ทำไปแล้ว ให้เบาลง และหยุดมัน เช่น  6.1 เรา กำลัง โมโหมาก จะฆ่ามันตายละ ถ้าเราดูจิตโมโห เราก็จะรู้ว่าโมโห มากแล้ว ทำให้เราเข้าไปอินในอาการโมโหนั้นน้อยลง ทำให้ใจเย็นลงเร็วขึ้น อาจทำให้มีช่องว่าง ชุกคิด ทุน ที่จะยับยั้ง บาปที่กำลังจะก่อได้ (ประสบการณ์ตรง- -") ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่ดูจิตว่าโมโหนะ คือ บาปกำลังจะเกิดขึ้น ก็จะอินเข้าไปในความโมโห จนควบคุม อะไรไม่ได้ ทำอะไรลงไปอย่างไม่คิดต่างๆนาๆ บาปที่จะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นแล้ว ยับยั้งไม่ทัน 
   ในส่วน 6.2 บาปที่ทำไปแล้ว ละให้เบาลง ยับยั้งหยุดมัน เช่น เรากำลังขโมยของ จิตเรารู้ว่ามันผิด เราใช้ความเพียร ดู การกระทำไปเรื่อยๆ จน เกิด ความไม่อยากขโมยแล้ว รู้สึกอัดอึดไม่ดียังไงไม่รู้ นี้คือผลของการดูจิต ความรู้สึกจะดันออกจากข้างใน จนะราอยู่ที่จะทำมันอีก ในที่สุด
7. สัมมาสะติ ความระลึกชอบ คือ มีสติ คุมตัวเองตลอด ถ้าเรา สนใจที่จะปฏิบัติ ให้เหนือกว่าความเป็นคนปกติ เราต้องทำสูงกว่าเดิมที่ปกติทำ คือ ถอน ละ ตัดขาด ความพอใจ และไม่พอใจ หรือคำว่า แล้วไง ก็เท่านั้น มีความกล้าที่จะเผากิเลส หรือ ดัดความอยาก อยากนอนไม่นอน อยากกิน ไม่กิน อยากได้ ก็ไม่ให้อะ จะทำไม วิธีนี้ คือ ชนะใจตัวเองนะ ไม่ให้ใช้กับคน ใช้ชนะตัวเอง เพื่อจะละจากสิ่งนี้ ปากทางสู่ความหลุดพ้น ถ้าใช้กับคนอื่นคือ ความโลภหลงที่อยากบังคับคนอื่น แต่ไม่มองตัวเอง เพราะควรเปลื่ยนตัวเอง มิใช่คนอื่น ข้อนี้ สรุปคือ ละ พอใจ และไม่พอใจ สห้เฉยๆ โดยใช้ความเพียรเป็นหลัก เช่น มีรถที่บ้านละ1คัน ไปทำผ่านเต็นขายรถ ใจก็อยากได้คันใหม่ จิตก็อยาก ถ้าได้จะพอใจมากๆ ไม่ได้ก็อัดอึดไม่พอใจ นอยต่างๆนานๆ ให้ท่าน ฝึกว่า ต่อยอดไปเรื่อยๆและวนกลับมาที่เดิม แบบนี้ เราก็มีอยู่แล้ว เอาไปทำไม มีความสุข? ถ้าได้มาแล้ว เรามีความสุข แต่ รายจ่ายก็เพิ่ม พอได้แล้วยังไงต่อ เท่ อวด แล้วไงต่อ หายเห่อ ก็เหมือนรถที่เราขับอยู่นี้ไง แล้วจะอยากได้ไปทำไม ได้มาก็เท่านั้นละ จนเกิดอารมณ์เฉยๆ เพราะรู้ขั้นตอน ของจิต ทัน อยากเพราะอะไร พอได้แล้วยังไงต่อ จนคิดซ้ำๆ จนเฉยๆไปเอง อาตมาใช้ได้ผลนะ ไม่รู้โยมจะใช้ได้เหมือนกันไหม อาตมาก็มีปะสบการณ์ตรงที่ยกตัวอย่างนี้ละ
จนไปขั้นสูง เฉยๆ กับร่างกายตัวเอง อาตมาเป็นพระ ลองไม่อาบน้ำบ้าง ไม่ได้ใช้โคโลน รู้สึกว่าร่างกายมนุษย์เหม็นมากๆ ทั้งต้องขี้ต้องฉี่ มีแต่สิ่งที่ไม่น่า หลงไหล จนรู้สึก เบื่อกับร่างกายนี้เต็มทน อยู่แบบเบื่อๆก็มีบ้าง ร่างกายก็ไม่สำคัญ เงินทอง ก็ไม่รู้จะเอาไปทำไร ตอนเป็นพระ ก็ใช้ไม่ได้อยู่แล้ว อาตมา มีปัจจัย จะไปซื้ออะไร ก็กลัวศีลขาด มีไปก็อึดอัด หลังๆก็ไม่รับ ใส่บาตรมาให้โยมไปถวายต่อ แบบนี้เป็นต้น แต่ในมุมโยม เงินทอง มีอะมีได้อย่าไปหลง เพราะที่สุด ลองต่อยอดอย่างที่อาตมาสอน มีแล้ว รวย รวยแล้วสบาย สบายแล้วเท่ เท่ก็อวด อวดก็หลง หลงก็เที่ยว เที่ยวก็ลืมตัว แล้วยังไงต่อ ตายไหม หมดไหม ควรใช้ เอาเท่าที่สบายใจ ไม่ต้องไปหลงจนเกินไป มีสติ ในการใช้เงินนั้นเอง ใช้ยังไงที่จะต่อยอด บุญได้ดีกว่า
เปรียบ  ในมุมนักลงทุน เขาก็จะคิดเอาเงินไปลงทุนอะไรต่อดีที่จะได้เงินคืนกลับมาเยอะกว่าเดิม หรือมุมคนทำบุญ เอาเงินไปทำไรดี ที่จะได้บุญ อย่างอาตมา เอาเงินเข้าธนาคาร เอาเว็ปโฆษณา หักเงินจากธนาคาร โปรโมท เว็ปนี้ แก่ มนุษย์ทั้งหลาย 1 คน =0.01 บาท หรือต่อคนคลิกมาดู อาตมาจะตั้งสักวันละ200คน ต่อวัน คิดดูอนิสงค์จะขนาดไหน เป็นต้น
8. ข้อสุดท้าย ยากสุด ปากทางสู่ความหลุดพ้น สัมมาสะมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ
- วิวิจเจวะ กาเมหิ  สงัดแล้ว จากกามทั้งหลาย (คลิกอ่านละเอียด) ลด ละ กามทั้ง5 
- วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ สงัดแล้ว จากอกุศลทั้งหลาย (ลด ละ ตัดขาด)
- เข้าถึง ปฐมฌาน ( เพิ่มเติม ) การฝึก กสิณขั้นแรก การเพ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 
อย่างจิงจัง ห้ามฟุ้ง ถือว่าเป็น วิตกโดยสมบูรณ์ (ยึดอยู่ในรูปกสิณนั้น)
ส่วนวิจาร ประคองจิตให้อยู่ในการเพ่ง กสิณนั้นๆ 1อารมเท่านั้นนะ ตามดูตามรู้ให้มั่น อย่าให้หลุด อย่าฟุ้ง และโดยไม่หวังผล จากการเพ่งนี้ ไม่ต้องสนฌานไรทั้งนั้น
- เข้าถึง ทุติยฌาน คือ ละขาดใน วิตก และ วิจาร คือ การภาวนา การเพ่ง ลดลง
แต่ยังคงอยู่อย่างมีสมาธิ โดยไม่มีตัวบัญญัติกำหนดชัดเจน มีแต่ ปีติและสุข จากสมาธิ
- เข้าถึง อุเบกขา คือ ปีติยา จะ วิราคา อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ 
- เข้าถึง ตติยฌาน ละความสุข และ ทุกข์ เสียได้ 
- เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุก สุข มีแต่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา 
ในการฝึก ต้องใช้ ฝึกใจอดทนฝืนใจ ตาม 1. อนิจจัง ความเปลื่ยนแปลงไม่เที่ยงแท้แน่นอน อย่าไปยึดติด 2. ทุกขัง ความทนทุกข์ได้ยาก 3. อนัตตา ความไม่ใช่อัตตาตัวตน ในของเราและของเขา อย่ายึด ปล่อยวางปลง ( ไม่มีใครอยู่กับเรา ได้ตลอดไป) 
บุคคล 4 จำพวก ท่านเป็นแบบไหน และอยากเป็นแบบไหน
1. ตะโม ตะมะปะรายะโน  คือ  มืดมาแล้ว มืดต่อไป 
2. ตะโม โชติปะรายะโน    คือ  มืดมาแล้ว สว่างต่อไป
3. โชติ ตะมะปะรายะโน    คือ  สว่างมาแล้ว มืดต่อไป
4. โชติ โชติปะรายะโน      คือ  สว่างมาแล้ว สว่างต่อไป 
สังโยน์ช 10 ข้อ(คลิก) จำให้หมด ว่า มีอะไร ต้องตัดอะไรบ้าง
ตัดไม่ได้ ไม่เป็น เมื่อถึงคล่าว ตาย ลมหายใจสุดท้าย ขอให้ 
ดึงมาใช้ เพราะไม่เหลืออะไร ให้ ตัดไม่ขาดแล้วเพราะจะตาย 
วิธีปฏิบัติ 
1. นำ ข้างบน ทางลัดทั้งหมด ต้องจำให้ได้แม่นๆเลย
2. การจะตัดได้มัก จะไม่ขาด เพราะ หลายปัจจัย 
3. แต่ในทางลัดนี้ก็เปรียบดั่งคำสอนที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสแก่เราโดยตรง
4. เมื่อถึง คล่าวใกล้สิ้นลม สิ่งสุดท้ายที่เป็นทางลัดให้นึกถึงคือ ข้างบน และทำตาม
5. เมื่อถึงตอนนั้น ท่านจะไม่เหลือ ยึดมั่นอีกแล้ว ท่านละได้ทุกอย่าง ไม่มีแม้ความทุกอะไรให้ท่านยึดติด 
- ร่างกาย .. ป่วย มากๆ หรือ ชรามาก ไม่เหลืออะไรให้ยึด คงละขาดได้ง่าย 
- ทรัพย์ .. จะตายอยู่แล้ว คง ไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว ตัดขาดจากความโลภ ไม่ยาก
- ห่วง ... สุดท้ายก็ต้องจากกันอยู่ดีี ให้เข้าฌาน ไปเรื่อยๆ จนตายจิง เพื่อ จะขึ้นไปรอ คนที่ห่วง ข้างบนดีกว่า ถ้าห่วงไป ยังไงก็ต้องตาย ยังไงต้องจาก คิดให้ได้ วางให้ได้ปลงให้ได้ และจะหมดห่วง 
- เวทนา เจ็บปวด .. ท่าน ไม่ว่าจะ โวยวาย โอดโอย ทุร้นทุรายยังไง เวทนา ก็มิ ลดความเจ็บปวดลง ท่านจง ปลง ปล่อยวาง ดูมันว่าปวด ว่าทรมาน อย่างปล่อยวาง การละ จะง่าย 
- ใช้ปัญญา มองดู การเกิดดับไม่เที่ยง และต้องตายเป็นของธรรมดา ใครๆก็เป็นกัน อาสัย เราศึกษาทางลัด ว่าพระอรหัต ต้องตัด อะไรบ้าง พอถึงเวลานั้น (ต่อให้ก่อน หน้านั้น เราตัดไม่ได้) แต่เมื่ิอ เวลานี้ ไม่เหลืออะไรให้ยึดแล้วจะตายอยุ่แล้ว คงตัดได้แทบทุกข้อ หลุดง่ายมาก เพราะ การหลุดพ้นคือ การเข้าฌาน ตายโดยตัด สังโยน์ช10 ให้ได้ โดยใช้ปัญญา ท่าน1% ปล่อยวาง ตามข้อมูลศึกษาพระพุทธเจ้าทรงสอน 99% เหมือนกุแจ ไข ตอนจบ ถ้าตอนจบ ไม่มีกุแจ 99% มันไม่100% ก็ไม่มีประโยน์ช 
หลักคำสอนของ พระพุทธเจ้า คือแนวทาง99% หลุดพ้น อีก1% ท่านต้อง ใช้ปัญญาท่านเพื่อ ให้หลุด จาก ข้อหลักๆทั้งหมด คือ กาย ทรัพย์ ห่วง เวทนา






1. ลงอุโบสถ 2. บิณฑบาต 3. สวดมนต์ ทำสมาธิภาวนา แผ่เมตตา 4. รักษาผ้าครอง
5. กวาดลานวัด 6. อยู่ปริวาสกรรม เมื่อต้องอาบัติ 7. โกนผม หนวด เล็บ 
8. ศึกษาสิกขาบท และ ปฏิบัติพระอาจาร์ย 9. เทศนาบัติ 10. พิจารณาปัจจเวกขัณทั้ง4 
เป็นกิจใหญ่ ควรที่ภิกษุจะต้องศึกษาและทราบชัด สมควรแก่ สมณสารูปแห่งตน 

ข้อแนะนำ สำหรับ พระใหม่ 
- สำคัญมาก อธิษฐานบริขาร สิ่งเดียวหรือหลายสิ่ง ( พึ่งทราบ ไม่กี่วัน ) ไม่ค่อยมีครูบาอาจาร์ยสอน 

เพิ่มเติ่ม
- คำแปล ควรอ่านทุกบท เพื่อ เพิ่มความเข้าใจในบทนั้นๆ
- คำแปล บังคับ ท่อง คือ ทำวัตร เช้า - เย็น และ พิจารณาสังขาร